วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บันทึกประจำวันครูกศน.ตำบล

เข้ากศน.อำเภอเมืองลำปาง  ร่วมดูสายใยกศน.ร่วมกับคณะผู้บริหาร คณะข้าราชการ  โดยการนำของท่าน ผอ.ณราวัลย์ นันต๊ะภูมิ  อาจารย์ยุรัยยา อินทริวิจิตร หัวหน้ากลุ่มจัดฯ อ.สุพรรณี วงค์แสน การชี้แจงการทำฐานข้อมูลการทำงานของกศน.ตำบล   ซึ่งให้เก็บให้แล้วเสร็จภายในสิ้นเดือนนี้
       รับฟังนโยบายกศน.โดย  นายสุรพงษ์ จำจัด เลขาธิการกศน. การจัดทำฐานข้อมูลกศน.ตำบล เป็นการจัดทำขึ้น PDCA ตัวฐานข้อมูลกศน.ตำบลให้ทำให้สามารถทำเป็นแผน ตลอดจนคู่มือปฏิบัติ ติดตาม ประเมินผล การจัดทำฐานข้อมูล ประกอบไปด้วย 3ส่วน คือ ข้อมูลพื้นฐานกศน.ตำบล ข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย ข้อมูลแผนและผลการปฏิบัติการประจำปี 2559
         การจัดเก็บข้อมูล ครูกศน. เพื่อเป็น 1 แผนตำบล  ให้ครูมีคำรับรองตนเอง  ภายใต้ตำบลอาจมีครูอื่นประกอบอยู่จะถูกหลอมอยู่ในกศน.ตำบลครบตามภารกิจตำบล
ส่วนที่ 2 ฐานข้อมูลกศน.อำเภอ  มีบุคลคลเกี่ยวข้อง  คือ กศน.อำเภอ คือบุคลากรที่อยู่ภายในอำเภอ และตำบลเป็นอำเภอ ส่วนอำเภอต้องมีเนื้องานประกอบด้วย  หากมีเครือข่าย เช่นเรือนจำ  ทหารเกณฑ์  ต้องเป็นอำเภอ ศูนย์วิทย์  ศูนย์ฝึก ไม่ต้องเอามารวมกับกับอำเภอ  ซึ่งมีคำรับรองของพนักงานราชการของศูนย์ฝึก ศูนย์วิทย์  ระดับจังหวัด   หลายอำเภอรวมเป็นจังหวัด  บุคลากรจังหวัดต้องทำคำรับรองด้วย
        การจัดเก็บข้อมูล   มีตั้งแต่ ระดับตำบล อำเภอ จังหวัด  ส่วนกลาง  ทำให้การติดตามสะดวกรวดเร็ว ให้ช่วยดำเนินการและคีย์ให้เสร็จ 30 พ.ย.58 นี้ ให้ทุกตำบลโหลดไปใช้และคีย์ข้อมูล  เมื่อทำเสร็จแต่ละส่วนสามารถเรียกดูข้อมูลได้ เช่นมีผู้พิการกี่คน กดโชว์ให้เห็นได้  ให้มีข้อมุลรายได้ของผู้เรียนด้วย เพื่อให้เห็นการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายใดบ้างอย่างไร  การทำข้อมูลซึ่งจะเป็นผลดีต่อครูกศน.ตำบล ครูอาสา  กศน.ให้โอกาสแก่ครูทีทำงานในพื้นที่  มีการแจ้งยอดงบประมาณใด้ครูกศน.ดูแล รับผิดชอบตามภารกิจได้ช่วยแก้ปัญหาการศึกษาของประเทศ  การประกอบกอาชีพ การใช้ชีวิตใน สังคม การดูแลตนเอง       การอยู่ร่วมกันในสังคม การปรับตัวให้เข้ากับโลกปัจจุับัน  ให้ครูกศน.กลุ่มเป้าหมายเอาเทคโนโลยีมาปรับใช้กับกลุ่มเป้าหมายในชีวิตประจำวัน
         กษิพัฒ ภูลังกา  หัวหน้าพัฒนาระบบฯ  การมีงบประมาณตาม การบริหารงานคุณภาพ PDCA
         ผอ.ไพรัตน์   เนื่องเกตุ   ผอ.กศน.อำเภอสัตหีบ  การทำ ฐานข้อมูลกศน.ตำบล กลุ่มเป้าหมาย    แผนและผล  กศน.ตำบล  ระบบต่างต้องผ่านระบบออนไลท์  เข้าส่วนกลาง   ซึ่งมีข้อมุลพื้นฐาน อาคาร  จุดตั้ง หัวหน้าชื่อ รูปร่าง  มีอุปกรณ์ครบไหม คณะกรรมการกศน.ตำบล ให้ดำเนินการให้เสร็จภายในเดือนนีในกศน.ตำบลมีศูนย์การเรียนชุมชน บางตำบลอาจมีครูศรช.  ครูศรช.ต้องมีศูนย์การเรียนชุมชนด้วย และต้องมีส่วนประกอบ อาคาร  ชื่อครูศรช. เหมือนครูกศน.ตำบล
     กลุ่มเป้าหมาย    นักเรียนกศน.  ที่มีทะเบียนนักศึกษาอยู่แล้ว  ผู้ไม่รู้หนังสือซึ่งครูต้องไปสำรวจว่ามีผู้ไม่รู้หนังสือกี่คน  แยกเป็ชายหญิงกี่คน ประมาณ 20 กว่ากลุ่ม  มีผู้ด้อย ผู้พลาดโอกาส
     แผน  เป็นตัวกำกับการทำงานของกศน.ตำบล  ซึ่งมีเป้าหมาย   ขั้นตอนการกรอกข้อมูล  ให้ดาวโหลดแผนที่เป็นเอ็กเซล และกรอกข้อมูลทางเว็บ มีคู่มือให้ดาวโหลดศึกษา   ข้อมูลมี 2 ชุด คือตำบล เช่นอาคาร ชื่อครู  แผนและผล  ซึ่งการป้อนเป็นภาษาไทย  ข้อมูลทางเว็บไซด์ให้เผยแพร่ข่าวสาว  แต่ข้อมูลเป็นข้อมุลที่ตำบลเป็นคนกรอก ส่วนกลางและจังหวัดดูได้ ทำให้การทำงานได้รวดเร็วขึ้น   ซึ่งการทำเพจเพื่อการประชาสัมพันธ์ แยกเป็นคนละส่วน
        ขั้นตอนการกรอกข้อมูล  เข้าเว็บไซด  ของกรม  www,nfa,to.th/dmis    กรอกข้อมูลชื่ออะไรและกดไป ฐานข้อมูลกศน.ตำบล เข้าไปที่โปรแกรมรูปภาพดาวโหลดคลิกไปเรื่อย   ฐานข้อมูลกศน.ตำบล  พิมพ์ข้อมูลในช่องสี่เหลี่ยม  เว็บไชด์กศน.ตำบล  ไฟล์ใหญ่คลิกขวารีไซล์ ใช้โมบาย  กศน.ตำบลเอาภาพ การเอาภาพให้รีไซด์ด้วย จากนั้นบันทึกกรรมการกศน.ตำบล ใส่ใชื่อ เบอร์โทรศัพท์ ในตำบลมีหลายหมู่บ้านเลยต้องทำเยอะ  และใส่ภาพของคณะกรรมการ  คู่มือแผนรับรองกศน.ตำบล เริ่มจากการกรอกข้อมุลครูก่อน เครื่องหมายบวกสีเขียวเพิ่ม กรอกข้อมูลถูกต้องและให้ยืนยัน บันทึกและกดบุ่ม Summid  ให้ใส่ข้อมูลให้ถูกต้องครบทุกโครงการ   กลุ่มครูสอนเร่ร่อน คนพิการ  ถ้านอกเหนือตำบลนั้นให้กรอกในอำเภอ  มีคู่มืออยู่หน้าเว็บอยู่แล้ว  หลังทำเสร็จแล้วจะมีการเก็บข้อมูลอย่างอื่นต่อไป เช่น ครุภัณฑ์  เช่น รถยนต์ อาคารสถานที่  ข้อมูลพื้นฐานของครู ปราชญ์ชาวบ้าน
      อ.ไพรัตน์  ให้คำแนะนำ  ครูศรช.ต้องมีการป้อนข้อมูลด้วย  ระบบอยู่ที่หน้าจอ บันทึกของครูศรช. ให้ป้อนข้อมูลเข้าไป บันทึกบ้านหนังสือชุมชนในตำบล
      เป้าหมายครูอาสา 43 คนต้องควรให้ถึงเป้าหมาย  www.nfe.go.th/dmis  โครงการหมู่บ้านตามรอยยุคฯให้ใส่ในโครงการอื่นๆ แผนที่ใช้กำกับจะส่งที่จังหวัดสุโขทัย คำรับรองค่อยๆกรอก สถานศึกษาขึ้นตรงจะมีการชี้แจงภายหลัง สามาถแก้ไขข้อมูลได้ตลอด  มีอยู่ 3 ตัว ข้อมูลพื้นที่ตำบล กลุ่มเป้าหมาย แผนหรือคำรับรอง   ส่วนที่ 2 กิจกรรม อาชีพ ทักษะชีวิต เทคโนโลยีที่เหมาะสม ระบบเครือข่าย กศน. ฯลฯ ต้องกรอก
     ครูต้องถ่ายรูป อาคารสถานที่  บุคลาการ  อุปกรณ์ เครื่องมือ  เพื่อจะกรอกข้อมูลได้ง่าย   ข้อมูลเอกสารที่จะเอาลงต้องอยู่ข้างตลอด  คู่มือระบบมีความจำเป็นในการทำงาน    
    จากนั้นผอ.สรุปว่าต้อง กรอกข้อมูลพื้นฐาน 3 ส่วน คือ ข้อมูลพื้นที่ตำบล  กลุ่มเป้าหมาย แผนหรือคำรับรอง แลให้เตรียมข้อมูล  และให้ครูทดลองเข้าตามรหัสทดลอง มอบให้กฤษณะ ให้ครูทุกทดลองทำดูและตอนเย็นให้ปริ้นส่ง กิจกรรมพื้นฐาน ส่งเสริมการอ่าน ฯลฯ ให้ปริ้นมา  ข้อมูลเว็บไชด์ตำบล  ฯลฯ
      เว็บไชด์  เป็นข้อมุลที่ไม่เคลื่อนไหว  เพจ  เป็นการประชาสัมพันธ์  ข้อมูล เว็ปไชด์เป็นข้อมูลพื้นฐาน ของกศน.ตำบล แหล่งเรียนรู้
       ความรู้ที่ได้จากการดูสายใยกศน.จะนำมาปรับใช้ในการทำงานต่อไป




               จากนั้นทดลองกรอกข้อมูลกศน.ตำบล
             


      ช่วงบ่าย อบรมการสร้างเว็บไซต์ด้วย Google Sites  พร้อมคณะครูกศน.ตำบล และครูทุกประเภท โดย อาจารย์กฤษณะ เจริญอรุณวัฒนา   ได้มาอบรมให้ความรู้  อธิบาย  ส่วนหัว  ส่วนตัว และส่วนท้าย  ส่วนหัวใส่โลโก้ของตำบล  แถบข้างเป็นตัวนำทาง  เมนูเป็นหัวข้อใหญ่  บอดี้ ประกอบด้วย ส่วนของแถบข้าง และเนื้อหา
    วิธีการสร้างเว็บหน้าที่ หนึ่งและ หน้าที่สอง   การเปลี่ยนสีหน้าเว็บ มาหน้าเมนูฟันเฟืองบน ไปที่จัดการไซด์ ด้านล่างซ้ายทีมสีและแบบอักษร การแก้ไขสีสันผ่าน ตัวสกี ที่สามารถเลือกได้จะโชว์ตัวอย่างจะปรากฏเมนูด้านล่าง โดยให้ผู้เข้าอบรมทำไปพร้อมกัน แต่เนื่องจากปัญหาคือสัญญาณเน็ตช้าทำให้ทำตามคำแนะนำของอาจารย์ไม่ทัน แต่ก็จะพยายามศึกษาและเรียนรู้ให้ทันเพื่อนครู  ซึ่งเป็นสิ่งที่ประชาสัมพันธ์งานกศน.ได้เป็นอย่างมาก และจะนำความความรู้ที่ได้รับมาสร้างเว็บไซต์ของกศน.ตำบลตนเองต่อไป จากนั้นแก้ไขข้อมูลในแผนรับรอง และแผนตำบล และนำส่ง















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น