เข้าร่วมกศน.ประชุมจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี โดยผอ.ณราวัลย์ นันต๊ะภูมิ และอ.ยุรัยยา อินทรวิจิตร หัวหน้ากลุ่มจัดการศึกษาฯ อ.สุพรรณี วงค์แสน หัวหน้าภาคีเครือข่าย นางนาตยา ทุนกุล หัวหน้างานอำนวยการ ได้นำปัญหาการทำงานรอบปีที่ผ่านมาให้ผู้เข้าร่วมประชุมช่วยกันดู
อ.สุมลมาลย์ นำเสนอโครงการ ได้สรุปผลการปฏิบัติงานประจำปี 58 จำนวน 28 โครงการ
การเสนอปัญหาของกลุ่มงานธุรการ
ผอณราวัลย์ นันต๊ะภูมิ ระบบสารบัญและสารสนเทศ ยังไม่เป็นระบบ หาเอกสารยาก เช่น อาจารย์กฤษณะ จะมีระบบการนำเสนองาน เช่นการนำเสนองาน สามัญอาชีพ ทุกอย่างอยู่ในระบบ online ให้ทุกคนปรับความคิด การนำเอาระบบไอซีที มาใช้ในการทำงาน เช่น การเงิน สารบัญ สารเทศ
อาจารย์ภัสธิดา งานพัสดุ ให้เขียนวัสดุก่อนภายใน 7 วัน งานโครงการ ให้ปริ้นโครงการแนบการจัดซื้อ ผอ.แจ้งท่าน เลขาสุรพงษ์ จำจด เป็นผู้มีความรู้เกี่ยวกับงานกศน.อย่างมาก ฝากมาให้ทำถูกต้องตามระเบียบพัสดุ ไม่ทำการซื้อย้อนหลัง จะจัดกิจกรรมให้ขออนุมัติก่อน การจัดซื้อผ่่านทางกลุ่มงานตามระบบจะมีการจัดอบรมให้ ประมาณต้นเดือน โครงการบริหารงานระบบ
ผอ.ณราวัลย์ นันต๊ะภูมิ สรุปปัญหา การเงิน ไม่มีการวางแผนการใช้เงิน การบริหารการใช้เงิน ไม่การควบคุมงบประมาณในแต่ละงาน ไม่ว่าจะเป็นกศน.ตำบล เจ้าของงานไม่รู้เงินคงเหลือของแต่ละงบ ตอนนี้อ.อกฤษณะ กำลังพัฒนาระบบ
งานอาคารสถานที่ หลังคาเวลาฝนตก บริเวณโดยรอบด้านหลังไม่เรียบร้อย บอร์ดบุคลากร มอบให้อาคารสถานที่ดูแลด้วย
งานข้อมูลและการรายงาน ระบบสารสนเทศ อ.กฤษณะ จะเก็บตั้งแต่โครงการ ไปสู่ผู้บริหาร พัสดุ การเงิน และเอารูปภาพของกิจกรรมใส่ในโครงการ เป็นรายงานผลการปฏิบัติงาน เป็นระบบที่เก็บไว้ในทีเดียว หลังจากที่ระบบจะยุบภาพใน Line และ facebook ให้รายงานทางเดียวไม่ให้เกิดความสับสน หลังจากระบบสเร็จแล้วครูต้องกรอกข้อมูล การทำต่อไปนี้ครูทุกคนต้องรายงาน ส่วนของอำเภอ และแผนประจำตำบลขึ้น online ให้สำนัก ตามที่ระบุไว้ จะเกี่ยวข้องกับผลการปฏิบัติงาน และจะเอาแผนและคำรับรอง มาเป็นคะแนน การทำแผนปฏิบัติการพยายามทำให้ตรงไตรมาส
กลุ่มจัด ให้ครูจัดทำแผนทุกสัปดาห์ ผู้ไมรู้หนังสือ บันทึกหลังสอน รายงานประจำเดือน
ขั้นพื้นฐาน ปัจจุบัน ไม่ได้ทำแผน การจัดตั้งกลุ่ม บันทักหลังสอน กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน การส่งเสริมการอ่าน ทักษะชีวิต 9 ข้อ ให้ทำมาด้วย การเน้นย้ำนักศึกษาให้มาพบกลุ่ม และเข้าสอบ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น เป้าที่ได้รับมอบหมายให้แต่ละตำบล ถ้าทำได้ไม่ถึงเป้าจะเกิดปัญหา ดังนั้นมีมาตรการ ว่าถ้าจังหวัดไหนทำไม่ได้ ต้องคืนเงินให้สำนัก และส่งผลต่อการปฏิบัติงานของ ผอ.กศน.จังหวัด อำเภอ กศน.ตำบล
งาน RP จัดการเรียนการสอน สอนเสริม
เทียบระดับ ไต่ระดับ 1 คน สูงสุด 22 คน
ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน จำนวนชั่วโมงไม่สัมพันธ์กับหลักสูตรที่เรียน เพื่อให้ได้หลักสูตร มาก ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนสามารถจัดได้ 2 แบบ คือกลุ่มสนใจไม่เกิน 30 ชั่วโมง คนน้อยเรียนได้ เขียนให้ชัดเจน
หลักสูตรระยะสั้น 40 ชั่วโมงขึ้นไป
มอบให้งานสารสนเทศไปพิมพ์มาและจะสรุปในตอนท้าย ให้แต่ละกลุ่มงานจัดทำผังระบบการปฏิบัติงาน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน เพื่อนำเสนอ ให้เสร็จสิ้นเดือนนี้
การวิเคราะห์ SWOT ของอำเภอ ให้ไปแก้ไข ในแต่ละโครงการ 28 โครงการ แล้วรวบรวมเป็น SWOT ว่าตรางกันไหม โครงการปีที่แล้วไม่มีการวิเคราะห์ขึ้นมา ผอ.แนะว่าให้มีการวิเคราะห์โครงการด้วยเพื่อมีข้อเสนอแนะในการทำโครงการในปีต่อไป
ผอ. ครูทุกประเภทเป็นครู ประจำกลุ่ม ครูทุกคนต้องมีกลุ่มนักศึกษาไม่เกิน 40 คน ต่อกลุ่ม ครูกศน.ตำบลศรช ให้สอนพื้นฐาน 1 กลุ่ม และจัดการศุึกษาต่อเนื่อง รวม 100 คน
ครูอาสา รับผิดชอบผู้ไม่รู้หนังสือ 35 คน ไม่ซำ้คน ไม่พอให้ขั้นพื้นฐาน 60 คน แต่ดำเนินาการจัดตั้ง เพียง 40 คน ในการจัดตั้งกลุ่ม ต้อง 40 คน ให้แต่งตั้งครูทุกประเภท เป็นครูประจำกลุ่ม ระดับ ประถม ม.ต้น ม.ปลาย กลุ่มและไม่เกิน 40 คน และให้ทะเบียนแบ่งกลุ่มนักศึกษา ออกเป็น กลุ่ม ๆละ 40 คนทุกระดับไม่เกิน ครูอาสารรับผิดชอบผู้ไม่รู้หนังสือภาคเรียนละ 35 คน ไม่ซ้ำคน รวมปีไม่น้อยกว่า 70 เพราะเป็นหลักสุตร 200 คน ถ้าเป็นพื้นฐานซ้ำได้ ผู้ไม่รู้ซำ้ไม่ได้ ครูประจำกลุ่มอื่นๆ เช่น ทหาร เรือนจำ แบ่งเป็นกลุ่มไม่เกิน 40 เช่น บ้านเอื้อม 48 คน ก็ต้องสอนคนเดียว ผู้ไม่รู้หนังสือให้ใช้หลักสูตรการรู้หนังสือไทย พ.ศ 2557 ควบคู่กับหลักสูตรแกนกลาง การสำรวจผู้ไม่รู้จากจปฐ หากไปสอบถามแล้วต้องมีเหตุผลและหลักฐาน ผู้ไม่รู้หนังสือให้นักศึกษาสอนได้ กพช มีแผนการสอน รูปแบบ ชื่อ วิธีการประเมิน วุฒิบัตรให้เสร็จภายในมกราคม 59 การศึกษาต่อเนื่อง จัดกลุ่มสนใจ อบรม แหล่งเรียนรู้ชมชน 2 แห่ง บรรณสัญจรคือการ บริจาคหนังสือ แล้วเอาไปสัญจรตามบ้านหนังสือชุมชนที่มีอยู่ โครงการฐานข้อมูลตำบล งบ 3,000 บาท โครงการกีฬาให้แข่งขัน ตำบล อำเภอ จังหวัด ระดับภาค การสอนภาษาอังกฤษเน้นครูไทยโครงการลูกเสือ ยุวกาชาด อำเภอต้องจัดตั้งกองลูกเสือ อบรมตามหลักสูตรลูกเสือ
องค์ความรู้ตามรอยยุคลบาท ถ้าอำเภอไม่มีให้เอาองค์ความรู้จากพื้นที่ข้างเคียงมาจัดใหักับลูกเสือ
การทำบัญชีครัวเรือน ครู และนักศึกษา ต้องทำบัญชีครัวเรือน ประชาชนทุกหมู่บ้านต้องกำหนด ในแผนบ้านเศรษฐกิจให้ทำบัญชีครัวเรือน 18 คน และสรุปวิเคราะห์แล้วถึงไปจัดเศรษฐกิจพอเพียงให้ การจัดการศึกษาต่อเนื่องให้สอดแทรก การทำบัญชีครัวเรือนด้วย หลักสูตรใหม่จะเริ่มภาคเรียนหน้า 16 พ.ค.59โครงการตามรอยยุคลบาท ให้ทำทุกตำบล เช่นการแก้ไขปัญหาดิน 2 คนที่เป็นแกนนำ 400 บาท
เชิญชวนกิจกรรม bike for Dadการศึกษาทางไกล ให้ครูอาสาเป็นผู้ดูแลต้องมาจากสถาบันทางไกล
เรื่องสำคัญ กลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุ ให้จัดหลักสูตรระยะสั้น อำเภอละ 1 ห้อง ห้องละ 20 คน จบแล้วขึ้นทะเบียนผู้ประกอบอาชีพ 420 ชั่วโมง และ 70 ชั่วโมง ห้องละ 20 คน โครงการเสริมสร้างผู้สูงอายุทุกอำเภอ จัดทุกตำบล ตำบลละ 5 คน จากนั้นเป็นการนำเสนอแผนการปฏิบัติงานประจำปีของตำบล ทุ่งฝาย นิคมพัฒนา บ้านเป้า พิชัย และบ้านเอื้อม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น