เข้ากศน.อำเภอเมืองลำปาง ร่วมชม ETV โดยนายสุรพงษ์ จำจด เรื่องยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงาน 2559 โดยการนำของผอ.ณราวัลย์ นันต๊ะภูมิ และคณะข้าราชการ อาจารย์ยุรัยยา อินทรวิจิตร หัวหน้ากลุ่มจัดฯ อาจารย์สุพรรณี วงค์แสน หัวหน้าภาคีเครือข่าย อาจารย์นาตยา ทุนกุล หัวหน้ากลุ่มงานอำนวยการ
กรอบในการทำงาน
1.การจัดการศึกษาตลอดชีวิต
2.การดำเนินงานตามนโบายและจุดเน้น
3.แผนปฏิบัติการคำรับรอง
1.กศน.ตำบลเป็นฐาน โดยมีครูกศน.ตำบล ครูอาสาเป็นผู้ดูแล ห้องเรียนกศน. มีครบทุกตำบล กศน.ตำบลเป็นหน่วยงานในพื้นที่
สิ้นปี 59 สัญญาพนักงานราชการจะหมด จะเอาผลงานที่ทำในแผนเสนอผลงานเพื่อต่อสัญญาจ้าง ตามพรบ และเสนอต่อรมต.
จะมีการสอบบรรจุกรณีพิเศษ โดยสอบจากคนทำงานมาไม่น้อยกว่า 3 ปี
เป้าหมาย อายุ 15-59 ปี ประชากรวัยแรงงาน 60 ปีขึ้ไป กลุ่มผู้สูงอายุ มีจำนวน 50 ล้านคน แยกเป็น 2 ส่วนคือ
1.ผู้พลาดโอกาส ขาดโอกาส 40 ล้านคน
2.เป้าหมายพิเศษ 10 ล้านคน ออกกลางคัน แรงงานต่างด้าว ชายแดนใต้
กรณีปัญหาระดับบุคคล ต้องการยกระดับการศึกษาให้คนไทยสูงขึ้น คนไทยรักการอ่าน พอเพียง คิดเป็น รู้จักแสวงหาความรู้ มีจิตสาธาณะ
ระดับชุมชน ต้องการสร้างชุมชนเข้มแข็ง เป้าหมายระดับชาติ เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ซึ่งจำเป็นต้องใช้การศึกษานอกระบบมาใช้เป็นรายบุคคล
การทำงาน ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และคิดเป็น ในการทำงาน ให้ยึดสองปรัชญานี้เป็นกรอบกาารทำงาน คิดเป็น ดร.โกวิทย์ วรพิพัฒน์ ได้กำหนดงานการศึกษานอกโรงเรียนไว้ ต้องการให้คนที่มีความสามารถในการตัดสินใจ จากข้อมูล วิเคราะห์ นำมาสรุปใช้ข้อมูลในการตัดสินใจและปฏิบัติ ถ้าสำเร็จถือว่ามีความสุข
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หัวใจต้องการให้คน รู้จักการพึ่งตนเอง โดยหลักพึ่งปัจจัย 4 รู้จักวิเคราะห์ใช้หลักเหตุผล ลดรายจ่าย ทำเองให้มากที่สุด ที่อยู่อาศัย เสื้อผ้า อาหาร ยารักษาโรค เช่นปลูกผักกินเองไม่มีสารพิษ ใช้ความรู้คู่คุณธรรม
การเรียนรู้ตลอดชีวิต ประกอบด้วย การศึกษานอกระบบ ประกอบด้วย การศึกษาพื้นฐาน ยกระดับการศึกษาประชาชน การสอนคนที่ไม่รู้หนังสือ จากไม่รู้เข้าสู่ประถม ม.ต้น ม.ปลาย ปวช มีประเภท พบกลุ่ม ทางไกล เทียบโอน ซึ่งเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง
การศึกษาต่อเนื่อง จะทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ประกอบด้วย 4 ส่วน
1.การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ
2.การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต
3.การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชมุชน
4.เทคโนโลยีที่เหมาะสม เอาภูมิปัญญาที่มีอยู่ เช่น พลังงาน อาหาร ที่เกี่ยวข้องมาใช้กับเทคนโนโลยี ปรับให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต
วิธีการจัด
1กลุ่มสนใจ การจัดการศึกษาที่ใช้หลักสูตรระยะสั้นระมาณ ไม่เกิน 30 ชั่วโมง เหมือนวิชาชีพ
1-2 ชั่วโมง หรือ 10 ชั่วโมง การทำกล้วยบวดชี เอาวัสดุมา การทำอาหารเพื่อสุขภาพของผู้สูงอายุ
2.ชั้นวิชาเรียน หลักสูตร 30 ชั่วโมงขึ้น ไป แต่ไม่เกิน 100 ชั่วโมง ค่าตอบแทน 200 บาทต่อชั่วโมง แต่ยังไม่ได้พูดถึงค่าวัสดุ
3. การฝึกอบรม เกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จะตกลงกับบัญชีกลางเพื่อเบิกค่าอาหารกลางวันจะติดตามและส่งไปพื้นที่ แต่ช่วงนี้ใช้กลุ่มสนใจและวิชาชีพไปก่อน
การศึกษาตามอัธยาศัย
คือการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อสร้างให้คนรักการอ่าน ไม่มีหลักสูตร แต่มีวิธีการจัดเพื่อกระตุ้นการรักการอ่าน นิทรรศการ ทำรถเคลื่อนที่ หีบหนังสือสู่ประตูบ้าน
การแหล่งการเรียนรู้ชุมชน ระดับครอบครัว ภูมิปัญญา ผู้รู้ หลักสูตรระยะสั้น หรือกลุ่มสนใจ เช่นการตัดสูตร
ระดับหมู่บ้าน ศูนย์การเรียนชุมชน ร่วมกับวัด สถานประกอบการ โรงงานต่างๆ โดยส่วนใหญ่เป็นสถานทีให้มีการพบกลุ่ม หรือหน่วยทหารจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนในทหารได้
ระดับตำบล ศูนย์ขนาดใหญ่ ศูนย์กลางของตำบล เช่น กศน.ตำบล คือที่ที่ครูอยู่ มีคณะกรรมการเข้ามามีส่วนร่วม ถือเป็นห้องเรียน
ระดับอำเภอ เป็นสถานศึกษา หรือโรงเรียน ศูนย์วิทยาศาสตร์ ศูนย์ฝึกอาชีพ เป็นหน่วยปฏิบัติการ
ระดับจังหวัด เป็นหน่วยกำกับการทำงาน
กลไกบริหารจัดการ PDCA
p คือการวางแผนข้อมูลระดับจุลภาค แผนกลยุทธ์ ตัวข้อมูลจุลภาค ให้ครูกศน.ตำบลกรอกข้อมูลทั้ง 3 ประเภท โครงสร้างพื้นฐาน ทีมงานเป็นยังไง มีหนังสือ โต๊ะเท่าไหร สร้างด้วยงบประมาณ หรืออยู่กับหน่วยงานใด
ข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย รวบรวมส่งในระบบฐานข้อมูลตำบลด้วย การศึกษา แยกการศึกษา
แผนปฏิบัติการประจำปี การรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี
D ระดับปฏิบัติการ ใช้ระบบการมีส่วนร่วม การตรวจสอบได้ รู้จัการใช้นิติธรรม การใช้กฎหมายอย่างเป็นธรรมในการทำงาน ถูกขั้นตอน ต้องมีหลักสูตร ตอนนี้กป กำลังจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานให้จะส่งไป
คู่มือบัญชีพัสดุ
C การประเมิน นิเทศ ติดตาม ประเมิน ตามตัวชี้วัด รายงานผล ตัวชี้วัดกำลังจัดทำเร็วนี้ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดของบุคลากร แต่ละตำแหน่งไม่เหมือนกัน ในครูแต่ละประเภท เน้นบทบาทหน้าที่ แต่ทั้งหมดจะมีตัวชี้วัดเหมือนกันหมด คือสามารถทำงานได้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด สูงกว่า คะแนนก็สูง เสมอตัวก็คะแนนกลาง ปริมาณ จะร้อย 50 เชิงปริมาณ ร้อยละ 50 เชิงคุณภาพ
A คือ ตัวพัฒนาและปรับปรุง เน้นการประเมินและพัฒนา
อยากให้คนทำงานด้วย หัวใจ ศรัทธา และความคิด กศน.สามารถต้องเชื่อว่างานกศน.สามารถแก้ไขปัญหาได้ และใช้ความคิดที่สร้างสรรค์ในการทำงานเพื่อแก้ปัญหาบริบทของชุมชน
นโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ ที่เกี่ยวกับสำนักงานกศน.
1. การแปลงพระราชดำรัสฯเกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษาไปเป็นแผนงานโครงการ
2, การยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษในทุกหลักสูตร
3.การแก้ไขปัญหาการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้
4. การแก้ไขปัญหาการทุจริต
5.จัดโครงการติวเข้มเต็มความรู้
6.จัดโครงการเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย
7.ส่งเสริมการศึกษาและพัมนาคนทุกช่วงวัยโดยส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
8.ให้กศน.ตำบลเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการเชื่อมประสานระหว่างบ้าน วัด โรงเรียน
9. การลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
5 ยุทธศาสตร์
1. ยุทธศาสตร์ที่ 1 ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาส และยกระดับคุณภาพการศึกษา เร่งลดจำนวนผู้ไม่รู้หนังสือมุ่งเน้นจัดการศึกษานอกระบบให้กับกลุ่มเป้าหมายทั่วไปและกลุ่มเป้าหมายพิเศษ อาทิ
ประชาชนวัยแรงงานที่ไม่จบการศึกษาขั้นพื้นฐาน เด็กออกกลางคัน พื้นที่ชายขอบ ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ
เร่ร่อน กลุ่มชาติพันธุ์ ชนกลุ่มน้อย ชายแดนใต้ แรงงานต่างด้าว การใช้กศน.ตำบลเป็นฐาน ได้รับการประสานจากกระทรวงไอซีที มีการติดตั้งอินเตอร์ทุกตำบล กกต.ในการให้เป็นศูนย์เรียนรู้ประชาธิปไตยชุมชนใช้กศน.เป็นศูนย์ประสานการรับร่างรัฐธรรมนูญ
2.ยุทธศาสตร์ที่ 2 สร้างอุดมการณ์ รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และสร้างค่านิยมที่พึงประสงค์ส่งเสริมการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อสนับสนุนโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ หรือโครงการอันเกี่ยวเนื่องจากพระราชวงศ์ ส่งเสริมให้ชุมชนจัดตั้งหมู่บ้านเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท เพื่อเสริมสร้างอุดมการณ์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต การสร้างจิตสาธารณะ การต้านยาเสพติด ในรูปแบบกิจกรรมลูกเสือ ยุวกาชาด กิจกรรมค่าย การแข่งขันกีฬา
3. ยุทธศาสตร์ที่ 3 จัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทุกช่วงวัยและพัฒนาคุณภาพชีวิต มุ่งเน้นให้ชุมชนรักการอ่าน เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ครอบครัว จัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในชุมชนในรูปแบบกลุ่มสนใจในเรื่องต่างๆ อาทิการจัดการขยะ การประหยัดพลังงาน การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม การใช้กระบวนการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ สุขภาพอนามัย ความรู้เรื่องภาษาและวัฒนธรรมในกลุ่มประเทศอาเซียน ความสามัคคีปรองดอง ความพอเพียง
4.ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษจังหวัดชายแดนภาคใต้
5. ยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนา กศน.ตำบลให้เป็นกลไกการขับเคลื่อนการจัดและส่งเสริมการจัด
การศึกษาเพื่อสร้างและกระจายโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิตในชุมชน
มอบให้มีการชี้แจง แผนระดับตำบล อำเภอ จังหวัด แต่ละไตรมาทำเท่าไร
หัวใจของแผนจุล การใช้แผนเป็นฟอร์มเดียวกัน ตัวแผนปฏิบัติการมอบเป้าหมายให้ไปมีเพียง 38 จังหวัดที่ส่ง รบกวนให้แต่ละจังหวัดส่งด้วย
จำนวนผู้ไม่รู้หนังสือ มอบให้กลุ่มแผนได้ไปดูข้อมูลและมาตรวจสอบกับเป้า ตัวเลขที่กศน.ถือ สามแสนคนทั่วประเภท ปีนี้เป้า แปดหมื่นคน งบประมาณ 500 บาทต่อหัว 50 บาทจะให้กองพัฒทำสื่อผู้ไม่รู้หนังสือ ตอนนี้จะให้แต่ละจังหวัดดำเนินการเอง จะมีการส่งเงิน 50 ไปให้แต่ละจังหวัด
การศึกษาพื้นฐาน ตัวเลขอาจเพิ่มตัวเล็กน้อย งบประมาณที่ได้รับจัดสรร ใช้ฐานปี 58 เป็นฐาน จัดทำให้ภาคเรียนที่2/58
การศึกษาต่อเนื่อง ให้ทำเป็นแผนส่งไป และทำเป็นรายไตรมาส เรื่องของอาชีพ สังคมชุมชน
เช่น การศึกษาต่อเนื่องหลักสูตรอาชีพ แบ่งเป็น 2 ส่วน
1.ช่างพื้นฐาน ข้อ 2 (2) การพัฒนาอาชีพ หรือต่อยอดอาชีพเดิม ทำในรูปของศูนย์ฝึกอาชีพชุมชุม จะบุเป้าหมายไปให้ จะส่งไปจังหวัด จังหวัดส่งไปอำเภอ งบอาชีพ เป็น งบรายจ่ายอื่น ให้ใช้กลุ่มใจ ชั้นเรียน
ทำกับใคร
โครงการอันเนื่องพระราชดำริ ภาคเหนือ
โครงการชายแดนใต้ ภาคใต้
โครงการยุทธศาสตร์และจุดเน้น เช่นทวิศึกษา ลูกเสื้อ ยุกาชาดเป็นโครงการเดียวกัน
การประเมินผลตามตัวชี้วัดที่กำหนด เช่นวิชาชีพพื้นฐานวิชาชีพ 1 หลักสูตร 10 คน ปรากฏว่าทำได้ดี ทำ 12 คน เกินเป้า ไตรมาส2 กำหนด 2 หลักสูตร ทำได้ 1 หลักสูตร ห้ามทำและเดินหน้าในไตรมาส 3 ต่อไป ถ้าทำงานเสร็จก่อนเวลา หลังจากนั้นถึงจะกลับมาเอาไตรมาส 2 มาจัดทำต่อ
คำรับรองปฏิบัติงาน หลายคำรับรอง เช่นมีครู หลายคน มีแผนเดียวกัน ส่งคำรับรองให้ที่อำเภอ ตามลำดับ อยากให้บันทึกคำรับรองในฐานข้อมูลกศน.ตำบลด้วย
งบประมาณสำหรับผู้สอนพิการ จะจัดสรรไปให้ หก เดือน ก่อน ซึ่งงานตรงนี้จะต้องดูอย่างใกล้ชิด
งบการศึกษาของภาคใต้ จะจัดสรรไปให้
ผอ.ณราวัลย์ นันต๊ะภูมิ กล่าวขอบคุณ สรุป ส่่วนที่ 1 การกรอกข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานตำบล ส่วนที่ 2 ข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย แผนคำรับรอง ส่วนที่ 3 ฐานข้อมูล ข้อมูลทุกอย่างที่อยู่ในตำบล คณะกรรมการ แหล่งเรียนรู้ที่เป็นฐานข้อมูล นักศึกษาที่ลงทะเบียนๆไอที
กิจกรรมทักษะชีวิต เป้า 420 กิจกรรมที่ 3 เอา 9 ตำบล มี 9 ตำบล บ้านเอื้อม เป้า นิคม ทุ่งฝาย บ่อแฮ้ว เวียงเหนือ ชมพู บ้านแลง สวนดอก
ตามรอยยุคลฯ หมู่บ้านละ 2 คน
กิจกรรมยุวลูกเสือ จัดโซนได้ อย่าจัดมาก หลักสูตร ปฐมพยาบาล ดูแลผู้สูงอายุ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
แก้ไข ระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการ เข้าลำบากมากเนื่องจาก ระบบช้า มาทำต่อที่บ้านก็ยังคีย์ไม่ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น