วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2559

บันทึกประจำวันครูกศน.


วันที่ 31 มีนาคม 2559
เข้ากศน.อำเภอเมืองลำปาง แก้ไขงานอาชีพและทักษะชีวิต ในระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการ
รับชมรายการ ETV  เรื่อง   หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยอ.บุญเลื่อน

การอบรมหลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขัันฐาน1. เป็นหลักสูตรที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นด้านสาระการเรียนรู้ เวลาเรียน และการจัดการเรียนรู้ โดยเน้นการบูรณาการเนื้อหาให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต ความแตกต่างของบุคคล และชุมชน
2. ส่งเสริมให้มีการเทียบโอนผลการเรียนจากการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย3. ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาและเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยตระหนักว่าผู้เรียนมีความสำคัญ สามารถพัฒนาตนเองได้ตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ4. ส่งเสริมให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
จุดหมาย
1. มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงาม และสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมอย่าง สันติสุข
2. มีความรู้พื้นฐานสำหรับการดำรงชีวิต และการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
3. มีความสามารถในการประกอบสัมมาอาชีพ ให้สอดคล้องกับความสนใจ ความถนัดและตามทันความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
4. มีทักษะการดำเนินชีวิตที่ดี และสามารถจัดการกับชีวิตชุมชน สังคม ได้อย่างมีความสุขตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
5. มีความเข้าใจประวัติศาสตร์ชาติไทย ภูมิใจในความเป็นไทย โดยเฉพาะภาษา ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี กีฬา ภูมิปัญญาไทย ความเป็นพลเมืองดี ปฏิบัติตนตามหลักธรรมของศาสนา ยึดมั่นในวิถีชีวิต และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
6. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
7. เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีทักษะในการแสวงหาความรู้ สามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ และบูรณาการความรู้มาใช้ ในการพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ

กลุ่มป้าหมาย  ประชาชนทั่วไป   ที่ไม่ได้อยู่ในระบบโรงเรียน
ระดับการศึกษา
1. ประถมศึกษา
2. มัธยมศึกษาตอนต้น
3. มัธยมศึกษาตอนปลาย

สาระการเรียนรู้
1. สาระทักษะการเรียนรู้ เป็นสาระเกี่ยวกับการเรียนรู้ด้วยตนเอง การใช้แหล่งเรียนรู้ การจัดการความรู้ การคิดเป็น และการวิจัยอย่างง่าย
2. สาระความรู้พื้นฐาน เป็นสาระเกี่ยวกับภาษาและ การสื่อสาร คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
3. สาระการประกอบอาชีพ เป็นสาระเกี่ยวกับการมองเห็นช่องทางและการตัดสินใจประกอบอาชีพ ทักษะในอาชีพ การจัดการอาชีพอย่างมีคุณธรรม และการพัฒนาอาชีพให้มีความมั่นคง
4. สาระทักษะการดำเนินชีวิตเป็นสาระเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สุขศึกษา-พลศึกษาและศิลปศึกษา
5. สาระการพัฒนาสังคม เป็นสาระเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ การเมือง การปกครอง ศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี หน้าที่พลเมือง และการพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม

เวลาเรียน
ในแต่ละระดับใช้เวลาเรียน 4 ภาคเรียน ยกเว้น ในกรณีที่มีการเทียบโอนผลการเรียน ทั้งนี้ ผู้เรียนต้องลงทะเบียนเรียนในสถานศึกษาอย่างน้อย 1 ภาคเรียน

การลงทะเบียนเรียน
1. ระดับประถมศึกษา ลงทะเบียนทั้งหมดไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต
เป็นวิชาบังคับ 36 หน่วยกิต วิชาเลือก 12 หน่วยกิต ลงทะเบียน
ได้ภาคเรียนละไม่เกิน 14 หน่วยกิต

2. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ลงทะเบียนทั้งหมดไม่น้อยกว่า 56
หน่วยกิต เป็นวิชาบังคับ 40 หน่วยกิต วิชาเลือก 16 หน่วยกิต
ลงทะเบียนได้ภาคเรียนละไม่เกิน 17 หน่วยกิต

3. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ลงทะเบียนทั้งหมดไม่น้อยกว่า 76
หน่วยกิต เป็นวิชาบังคับ 44 หน่วยกิต วิชาเลือก 32 หน่วยกิต
ลงทะเบียนได้ภาคเรียนละไม่เกิน 23 หน่วยกิต
วิธีการจัดการเรียนรู้
1. การเรียนรู้แบบพบกลุ่ม  การเยี่ยมบ้าน ติดตาม
2. การเรียนรู้ด้วยตนเอง ศึกแหล่งเรียนรู้ สื่อเทคโทคโยลีต่างๆ

การเทียบโอน
สถานศึกษาต้องจัดให้มีการเทียบโอนผลการเรียนหรือเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ของผู้เรียน ให้เป็นส่วนหนึ่งของผลการเรียนตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยสถานศึกษาต้องจัดทำระเบียบหรือแนวปฏิบัติการเทียบโอนให้สอดคล้องกับแนวทางการเทียบโอนที่สำนักงาน กศน. กำหนด


การวัดและประเมินผล
1.วัดผลและประเมินผลรายวิชา  มีการทดย่อย กลางภาค ปลายภาค (ปลายภาคต้องทำข้อสอบได้ไม่น้อย ร้อยละ 30 คือ จะต้องได้ 12 คะแนน เมื่อรวมคะแนนกลางภาคต้องได้ร้อยละ 50)
2. การประเมินกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต ไม่น้อยกว่า 200 ชั่วโมง พัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม
3. การประเมินคุณธรรม  ผู้เรียนต้องผ่านการประเมินในระดับพอใช้
4. การประเมินคุณภาพการศึกษานอกระบบแห่งชาติ  ไม่มีผลในการได้ ตก การประเมินต้องนำไปพัฒนาในการจัดการเรียนการสอน
การจบหลักสูตร

ผ่านการประเมิน และได้รับการตัดสินผลการเรียน
ตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนดทั้ง 5 สาระการ
เรียนรู้ และได้ตามจำนวนหน่วยกิตที่กำหนดใน
โครงสร้างหลักสูตร

1ผ่านกระบวนการประเมินกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต ไม่น้อยกว่า 200 ชั่วโมง
2ผ่านกระบวนการประเมินคุณธรรม
3เข้ารับการประเมินคุณภาพการศึกษานอกระบบระดับชาติ

แผนการเรียนรู้ทวิศึกษา อ.สุทธินี งามเขตต์
แนวทางการจัดการศึกษาทิวศึกษา
ความเป็นมาของการจัดการศึกษา  สืบเนื่องจากการประชุม   ว่ากระทรวงศึกษาธิการกำลังขยายการศึกษาอาชีวะลงไปสู่การศึกษาขั้นพื้นฐาน เพราะที่ผ่านมาเด็กที่เรียนสายสามัญ เมื่อจบออกไป จะเป็นแรงงานที่ไม่มีฝีมือ
        แม้จะทำให้เด็กต้องใช้เวลาเรียน มากกว่าเรียนสายสามัญอย่างเดียว แต่ก็จะทำให้ผู้ที่จบออกมาได้รับประกาศนียบัตร 2 ใบ คือ ได้รับทั้งวุฒิสายสามัญคือ ม.6 และวุฒิสายอาชีพ คือ ปวช./ปวส.
 
        การเพิ่มเงินอุดหนุนรายหัวจะคุ้มค่ามากกว่า เพราะรัฐได้รับประโยชน์จากการที่เด็กมีวิชาชีพติดตัว สามารถจบออกไปทำธุรกิจส่วนตัวหรือทำงานในภาคธุรกิจ SME ได้ทันที โดยจะลดอัตราการว่างงานลงด้วย

ศธ.จัดงานมิติใหม่การศึกษา เดินหน้าประเทศไทย เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 21 พฤษภาคม 2558 ณ บริเวณโดยรอบอาคารราชวัลลภนายกรัฐมนตรี
ให้แนวทางการดำเนินงานของกระทรวงศึกษาธิการ

1. การจัดการศึกษาเพื่อมีอาชีพและการมีงานทำ ต้องพัฒนากำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศให้มากขึ้น เช่น

2. การสร้างกำลังคนรองรับการพัฒนาประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการคมนาคมระบบราง การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งมีความต้องการกำลังคน

โครงการการจัดการศึกษาเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา) เพื่อเพิ่มแรงงานสายวิชาชีพให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาดแรงงาน และช่วยสร้างค่านิยมให้นักเรียนเรียนสายอาชีพเพิ่มขึ้น โดยได้ขยายโอกาสทั้งสายสามัญและวิชาชีพในโรงเรียน  


ข้อมูล นักศึกษา กศน.
ภาคเรียน 1/2558

นศ.กศน. ทั้งหมด1,207,723  
นักศึกษา ม.ต้น อายุ 29 ปีลง มา  316,960
นักศึกษา ม.ปลาย อายุ 29 ปีลงมา  468,746

นโยบายและจุดเน้น กศน.ปี 2559
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาส และยกระดับคุณภาพการศึกษา 
2.5 ขยายโอกาสการเข้าเรียนอาชีวศึกษาโดยขยายโครงการ “เรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยม ศึกษาตอนปลาย กศน.” (ทวิศึกษา กศน.) ให้ครอบคลุมทุกจังหวัด
2.6 สร้างค่านิยมอาชีวศึกษา
โดยสร้างความรู้ และค่านิยมเชิงบวกในการเข้ารับการศึกษาสายอาชีพให้กับกลุ่มเป้าหมาย กศน.เพื่อการเพิ่มสัดส่วนผู้เรียนอาชีวศึกษา
   
     ต้องมีการสำรวจความต้องการของผู้เรียน  จำนวนคน 40 ต่อห้องเรียน ให้มีการจัดสอนแบบแยกกับอาชีวะศึกษา
   กลุ่มเป้าหมาย จบ ม.ต้น หรือเทียงเท่า เรียน 3 วันต่อสัปดาห์  
   ในเวลาประชาสัมพันธ์ ผู้เรียนต้องมีเวลาเรียน เมื่อเรียนแล้วจะทำให้นักศึกษาเรียนแล้วหายไปเนื่องจากไม่มีเวลาเรียน เรียนกศน.ไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมงต่อสัปดาห์  
    การรับสมัครและตรวจสอบก็เป็นหน้าที่ของครูกศน.ตำบล  จะมีการพัฒนาโปรแกรมทะเบียนนักศึกษา 51  
   รายงานในเดือน เมษายน และตุลาคม ของทุกปี  และรายงานให้กศน.ด้วย
 แก้ไขแผนรับรองและแผนยุทธศาสตร์ และเตรียมเอกสาร วัสดุอุปกรณ์การทำอมยิ้มจากผ้าขนหนูรักการอ่าน และสอนวิธีการทำให้กับอาจารย์ยุวรี ใจศีล เนื่องจากจะต้องไปอบรมที่ แม่เมาะในวันที่ 1 เมษายน 2559 นี้ 

   
dนoม    .ต้น อายุ 29 ปี ลงมา นศ.ม.ต้น อายุ 29 ปี ลงมา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น